|บทความ-เนื้อหา |
การผลิตภาพถ่ายขาวดำจากฟิล์ม 1 การถ่ายภาพ 2 การล้างฟิล์ม 3 การอัดภาพขาว-ดำ |
การอัดภาพขาว-ดำ
จำเป็นต้องมี ห้องมืดปฎิบัติงาน อุปกรณ์เครื่องมือ กระดาษไวแสง น้ำยาเคมี
ขั้นตอนการอัดภาพขาวดำ
1 เตรียมฟิล์ม : เลือกรูปที่จะอัด จากฟิล์มเนกกาทีฟ
2 เตรียมกระดาษ : เลือกกระดาษ ชนิดและขนาดภาพที่ต้องการ
-ขนาดของกระดาษ เช่น 3x5,5x7,8x10,12x18,20x24 นิ้ว
โดยขึ้นกับ เครื่องอัดภาพและ ขนาดของหน้าเลนส์ด้วย
-เนื้อกระดาษ มีหลายแบบ เช่น ด้าน ชนิดมัน บาง หนา โดยดูจากเบอร์รหัส
ของกระดาษแต่ละยี่ห้อ
3 ผสมน้ำยาเคมี : เลือกชนิดสูตรของน้ำยา ผสมเตรียมน้ำยา เตรียมให้พร้อม
โดยปกติจะมีน้ำยาพื้นฐานอยู่ 3 ชนิด คือ
1 น้ำยาสร้างภาพ (deverloper) เช่น
2 น้ำยาหยุดภาพ (stop bath)
3 น้ำยาคงสภาพ (fixer)
4 เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ : เซ็ทเครื่องหัวอัดและเช็คทดสอบระบบไฟ เช็คระบบกลไล เช็คเลนส์หัวอัด นาฬิกาตั้งเวลา(Enlarger timer)
ปรับโฟกัส ปรับขนาดภาพ ปรับแสง ผสมน้ำยาเคมีเทบรรจุไว้ในถาดจัดวางในตำแหน่งที่ทำงานได้เหมาะสม
5 ดำเนินการตามขั้นตอนการอัดภาพ
สิ่งที่จำเป็นและ อุปกรณ์เบื้องต้น สำหรับการทำอัดภาพขาว-ดำ
1 มีสถานที่ ห้องมืดสนิท อากาศถ่ายเทได้สะดวก สำหรับปฏิบัติงาน
2 เครื่องอัดขยายภาพ (Enlarger)
ภาพตัวอย่างเครื่องอัดขยายภาพ รุ่นต่างๆ
3 ขนาดเลนท์สำหรับอัดขยาย ( Enlarger Lens)
เครื่องอัดรุ่นเก่าๆบางรุ่นมีขนาดเม้าท์เลนส์
เกลียวขนาดต่างกัน
ตัวอย่างเลนส์ ภาพนี้ค่า F=60 mm
4 ไฟเซฟไลท์ (self light) เป็นโคมไฟฟ้าส่องสว่างสีแดงกำลังต่ำ ขณะทำงานให้ห้องมึด
โคมไฟฟ้าเซฟไลท์
selflight ไฟฟ้าส่องสว่างวัตต์ต่ำสีแดงใช้ทำงานในห้องมืด
5 ที่ทับกระดาษอัดภาพ (อีเซล)
6 นาฬิกาตั้งเวลา (Enlarger Timer)
7 นาฬิกา สำหรับจับเวลาการแช่กระดาษกับน้ำยา
8 น้ำยาเคมีพื้นฐานประกอบด้วย น้ำยาสร้างภาพ น้ำยาหยุดภาพ น้ำยาคงสภาพ
ขวดแก้วทึบแสงบรรจุน้ำยาเคมี
9 ถาดน้ำยา ทรงสี่เหลี่ยม สำหรับใส่น้ำยาล้างภาพ ขนาดเหมาะสม กับ ขนาดกระดาษที่จะอัดภาพจำนวน 4 ถาด
10 ปากคีมกระดาษ
11 อุปกรณ์ทำความสะอาด ลูกยางเป่าฝุ่น สำหรับเป่าฝุ่นผงที่เนื้อฟิล์ม กระจก กระดาษและน้ำยาเช็ดเลนส์
12 ผ้าสะอาดเช็ดมือ
13 ถุงมือยาง
14 กล่องไฟส่องดูฟิล์ม ( box light ) และ เลนส์ขยายสำหรับดูเนื้อฟิล์ม
15 กระดาษอัดภาพขาวดำ : การเก็บรักษาไว้ในซองถุงมิดชิด กระดาษห้ามโดนแสง
ตัวอย่างกระดาษอัดภาพขาวดำ ชนิดและขนาดต่างๆ
17 อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น dogging , burning
ใช้สำหรับการทำ dogging
สำหรับบังแสงเพื่อลดเวลาฉายแสงเฉพาะส่วนของภาพ
ฟิลเตอร์สีเพื่อเพิ่มลดคอนทราส
17 เครื่องวัดค่าแสงสำหรับอัดภาพ
16 ก็อกน้ำสะอาด อ่างน้ำ สำหรับไหลรินผ่านกระดาษอัดภาพ
ขั้นตอนการอัดภาพ
|
รูปตัวอย่างเครื่องหัวอัดภาพขาวดำ
โดยหลักการพื้นฐานหลักๆ เบื้องต้น 1 ดูว่ามีช่องใส่ฟิล์ม ว่าเป็นใช้กับฟิล์มขนาด 135 หรือ 120 2 ดูขนาดค่า F ของเลนส์ 3 เช็คกลไกตัวปรับสูงต่ำของหัวอัด เพื่อขยายหรือย่อ รูปภาพ 4 เช็คกลไกลปรับโฟกัสของเลนส์
|
|
นาฬิกาตั้งเวลา (Enlarger
Timer) ใช้ตั้งเวลาฉายแสง
ต่ออยู่ระหว่างปลั๊กไฟฟ้ากับเครื่องอัดภาพ ทำหน้าที่ตัดไฟฟ้า ตามเวลาฉายแสงที่ตั้งค่าไว้ |
|
ดูฟิล์มเนกกาทีฟ เลือกรูป ที่จะอัดขยายภาพ เตรียมกระดาษอัดภาพ |
|
ทดสอบ ติดตั้ง จัดวางและเครื่องมืออุปกรณ์ ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างสะดวกกับการปฎิบัติงาน
|
|
ตรวจสอบการทำงาน เครื่องอัดภาพขาวดำ - เลนส์ :ขนาดค่า F ของเลนส์ - ระบบไฟฟ้า : หลอดไฟฟ้าส่องสว่างเครื่องฉาย สวิทช์ไฟฟ้า - ระบบกลไกล : การเคลื่อนขึ้นลงของหัวอัด และ การปรับโฟกัส |
|
ถอดเลนส์จากเครื่องอัดภาพ มาตรวจเช็คดูเบื้องต้น ค่าคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ค่าคือ 1 ขนาด F ของเลนส์ เช่น 50 , 60,75 ,105 mmจะเป็นค่าคงที่ โดยขนาดเลนส์ต้องเหมาะสมกับขนาดฟิล์มที่ใช้อัด เพราะ มีผลกับขนาดของภาพที่ต้องการ 2 ค่าขนาดรูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ เช่น 2.8 ,3.5,4.5 ลองหมุนปรับวงแหวนดู ค่าตัวเล็กมากรูรับแสงจะเล็กลง ค่านี้สัมพันธ์ กับเวลาที่ฉายแสงลงบนภาพ
|
|
เปิดรูรับแสงเลนส์ให้กว้างสุด และส่องเลนส์ ผ่านไปด้านแสงสว่าง และด้านที่แสงส่องลงมา ขยับดูมุมต่างๆ ถ้ามีคราบฝุ่น หรือ รา เป่า เช็ดทำความสะอาด แก้ไขให้เรียบร้อยก่อน เพื่อให้ได้คุณภาพภาพในการอัดที่ดีที่สุด |
|
จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และ น้ำยาอัดภาพ ให้เหมาะสม เรียบร้อยแล้ว ถาดน้ำยาต่างๆ ในสภาพพร้อมใช้งานจริง ทดลองใส่ฟิล์ม เปิดเครื่องฉายแสง ปรับขนาด ปรับโฟกัส ตามขนาดภาพที่ต้องการอัดบนกระดาษ
|
|
-น้ำยาที่ผสมเก็บไว้
ต้องติดฉลากให้เขียนชื่อน้ำยาโดยทันที เพราะน้ำยามีหลายตัว ป้องการการลืม และเขียนวันที่ผสมน้ำยา เพราะน้ำยาแต่ละตัวจะมีระยะ |
|
คุณสมบัติห้อง ต้องมืดสนิท และไม่มีแสงลอดจากข้างนอก มีม่าน หรือ ปิดแสงที่จะเล็ดลอดมาจากภายนอกให้หมด ในห้องมืด จะติดหลอดไฟฟ้าเซฟไลท์ สีแดง ที่ขนาดส่องสว่าง พอเหมาะเท่านั้น ในการทำงาน เพราะแสงจะทำให้ กระดาษอัดขยายภาพเสียหาย ด้วยคุณสมบัติของกระดาษ อัดภาพขาวดำ จะไวแสง ต้องเก็บไว้ในที่มืดตลอดเวลา จนกว่าจะใช้งาน โดยฉายภาพลงไปบนกระดาษ ส่วนที่แสงกระทบกระดาษ จะปรากฏเป็นสีดำมืดเมื่อแช่น้ำยา สร้างภาพ
|
|
เลือกรูปที่จะอัดภาพ
โดยให้ฟิล์มส่องผ่านแสงสว่าง หรือ กล่องbox light และ อาจจะใช่แว่นขยายเพื่อส่องดู รายละเอียดของภาพ ถ้ามีฝุ่นผง ก็เป่าฝุ่นด้วยลูกยาง ทำความสะอาด |
|
ถอดเม้าท์ใส่ฟิล์มของเครื่องหัวอัด เพื่อเตรียมบรรจุฟิล์ม แต่ละยี่ห้อ ก็อาจจะมีรูปร่างต่างกันบ้าง
|
|
ถอดเม้าท์ใส่ฟิล์มออกมา
จะเป็นช่องว่างตามขนาดของฟิล์ม ให้แสงจากหลอดไฟผ่านเนื้อฟิล์ม ลงไปฉายลงบนกระดาษ ตรวจสอบทำความสะอาดฝุ่น และแผ่นกระจกสะอาด
|
|
ใส่ฟิล์มที่ต้องการอัดภาพลงไป
เลือกภาพที่ต้องการอัด
|
|
จัดใส่ฟิล์มให้ตรงช่องและปรับขนาดขอบที่ใส่ฟิล์มให้พอดีกับ ภาพที่ต้องการ ไม่ให้ช่องกว้างเกินเพราะอาจจะเกิดแสงฟ็อกที่ภาพ (สำหรับหัวอัดบางยี่ห้อ จะปรับไม่ได้เป็นช่องขนาดคงที่ ขนาดพอดี ตามขนาด ฟิล์ม 135 หรือ ฟิล์ม 120 )
|
|
บรรจุที่ใส่ฟิล์ม และ ฟิล์มที่เลือกภาพไว้แล้ว ใส่เข้าไปในเครื่อง |
|
ปรับรูรับแสงกว้างสุด ของเลนส์
เช่น เลนส์บางตัวค่า 4.5 บางตัว 2.8 ให้ได้ภาพที่ฉายลงมาสว่างที่สุด เพื่อให้ปรับโฟกัสของภาพให้คมชัดที่สุดได้ง่าย
|
|
เปิดสวิทช์ไฟเช็คดูภาพ ที่จะต้องการจะอัด
|
|
ปรับความสูงต่ำของเครื่องอัดขยายภาพ
ให้ได้ขนาดภาพตามต้องการ
|
|
ที่ทับขอบกระดาษ ( อีเซล) จัดขยับตั้งวางให้ตรงพอดีกับภาพที่ฉายลงมา |
|
ปรับรูรับแสงของเลนส์ให้กว้างที่สุดเพื่อให้ภาพสว่างที่สุดและ ปรับโฟกัสของภาพ ให้ภาพชัดที่สุด โดยใส่กระดาษทดลอง ขนาดเท่ากระดาษที่จะใช้อัดภาพ ไปที่เอสเซลด้วย เพราะขนาดความหนาของกระดาษ ก็อาจจะมีผลต่อโฟกัสภาพได้ (ถ้าใช้งานที่รูรับแสงกว้าง)
|
|
เมื่อได้ภาพตามที่ต้องการแล้ว
หลังจากนั้นจึงปรับรูรับแสง ให้ตามความเหมาะสม ตามเนื้อฟิล์ม จะมีความสัมพันธ์กับ เวลาฉายแสง ชนิดกระดาษ และ สูตรน้ำยา ซึ่งมีผลสัมพันธ์กันทั้งหมด ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ทักษะ ของผู้อัดภาพเอง อาจจะมี อุปกรณ์วัดความเข้มของแสง หรือ ทำเทสสต็อป (การทดสอบค่าฉายแสง ในเวลาต่างๆกัน เพื่อหาค่าเวลาที่พอดี) |
|
ปรับขนาดที่ทับกระดาษให้พอดีกับที่ต้องการ
|
|
หยิบกระดาษไวแสงจากซองครั้งละ 1 ใบ และปิดซอง เพื่อไม่ให้ใบอื่นฟ็อกแสงใส่กระดาษ ให้ตรงได้ฉากกับ เอสเซล(ที่ทับกระดาษ) จัดวางให้ถูกด้าน เพราะกระดาษจะมี สองด้าน ด้านหน้าที่เป็นส่วนไวแสง ใช้ฉายแสงจะมีลักษณะมันลื่น วางบนเอสเซล ให้ตรงตั้งฉาก และ
ทับขอบกระดาษต้องทำด้วย เพราะจะทำให้ภาพที่ตั้งไว้แล้ว เอียง หรือ ไหว อาจจะใช้ฟิลเตอร์สีแดงของเครื่องอัดกรองแสง เพื่อเปิดไฟดูภาพก่อนอีกครั้ง |
|
ตั้งเวลา ฉายแสง ให้เหมาะสม กับ
ความสว่างของภาพ สังเกตความเข้มสว่างของภาพที่ฉายลงมาและจำค่าเวลาไว้ เพื่อแก้ไขปรับเพิ่มลดในครั้งต่อไป ภาพที่ฉายแสงมากเกินไปจะมืดดำเกินไป ภาพที่ฉายแสงน้อยเกินไปจะขาวเกินไป เวลาที่ฉายลงไปแต่ละวินาทีมีผลต่อภาพ |
|
ในห้องมืด ต้องใช้การสัมผัสหยิบจับอุปกรณ์ด้วยความระมัดระวัง
เพื่อไม่ให้ทำงานผิดพลาด จัดที่นั่ง
และพยายามปรับจัดวางอุปกรณ์ ที่ต้องเคลื่อนไหว สร้างจังหวะการทำงาน เป็นขั้นตอน คุ้นเคย ก็จะทำงานได้อย่างคล่อง และมีความสุข |
|
ในการอัดภาพ บางภาพอาจจะใช้เทคนิคช่วย ในการเพิ่มลด แสง เวลาในการฉายแสง พื้นที่เฉพาะจุดหรือบางส่วนให้กับภาพ เทคนิคที่ใช้มากคือ การเพิ่มแสง (burning) และ การลดแสง (dogging) ทำให้ภาพแต่ละภาพ ทั้งที่ภาพเดียวกัน มีรายละเอียดความเข้มอ่อนไล่แสงเงาของภาพต่างกัน ซึ่งภาพบางภาพที่ทำเทคนิคนี้ ก็อาจจะ ไม่ได้สามารถที่จะทำให้ ทุกรายละเอียดได้ เหมือนกันอีก จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะภาพ |
|
ช่วงเวลาที่ฉายแสงลงมาบนกระดาษ ระวังไม่ให้เอสเซล หรือกระดาษ ขยับ จะทำให้รูปภาพไหว นอกจากจะสร้างสรรค์เทคนิค เอฟเฟคให้กับภาพ
|
|
นำภาพที่ฉายแสงแล้วแช่น้ำยา -สร้างภาพ -น้ำยาหยุดภาพ -น้ำยาคงสภาพ และ น้ำสะอาดไหลรินเพื่อชำระน้ำยา ตามระยะเวลากำหนด |
|
ใส่ถาดน้ำสะอาดพักไว้ก่อนจะนำไป ให้ผ่าน ก็อกน้ำไหลรินเพื่อชำระน้ำยาต่างๆ
|
|
ผ่านน้ำไหลรินช้าๆ เพื่อชำระน้ำยาที่ติดบนกระดาษ |
|
เอาภาพมาตากให้แห้ง ในที่มีฝุ่นน้อย และ
อย่าตากวางภาพซ้อนทับกัน |
|
เมื่อล้างชำระน้ำยาบนกระดาษน้ำด้วยไหลรินช้าๆ
ตามคู่มือกำหนดเวลา ชนิดของกระดาษ |
ก็นำไปผึ่งตากให้แห้งสนิท ในที่สะอาดเพื่อไม่ให้ฝุ่นติด ที่ภาพหรือ ถ้ามีเครื่องความร้อนขัดมันกระดาษ ก็นำกระดาษไปเข้าเครื่องได้เลย |
|
|
ตัดเม้าท์กระดาษใส่ภาพลงไป |
|
ภาพใส่เม้าท์และกรอบ |
*สังเกตุว่า
รูปภาพสีแดงนั้น เป็นขั้นตอนการทำงานในห้องมืด ซึ่งภายใต้การทำงานไฟฟ้าส่องสว่างสีแดง
Photo by Webmaster
ส่วนข้อมูลเนื้อหาต่างๆ จะปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยๆ
ตามโอกาส และ ยินดีรับฟังทุกข้อเสนอแนะครับ
สรุปการอัดขยายภาพ หลังจากได้ถ่ายภาพ และ ฟิล์มที่ล้างออกมาได้อย่างถูกต้องแล้ว การอัดขยายภาพเป็นขั้นตอนที่ มีความละเอียดอ่อนในการทำงาน นอกจากเครื่องมือที่พร้อมใช้งาน น้ำยาผสมถูกต้องตามอัตราส่วน ระยะเวลาฉายแสงภาพลงบนกระดาษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้อย่างพอดี แต่ละวินาทีมีผลต่อภาพ ไม่ได้มีข้อกำหนดที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับ ชนิดกระดาษ เนื้อฟิล์ม และ คุณสมบัติน้ำยาสร้างภาพ หรือ เทคนิคของผู้อัดภาพเอง ที่ต้องการเปิดรูรับแสงกว้างหรือแคบ ต้องใช้ประสบการณ์ และ
ประเมินเบื้องต้นได้จากการดูภาพจาก เพื่อกำหนดเวลาในการฉายแสงได้ ใช้จินตนาการเพื่อให้ภาพอย่างที่ต้องการ หรือขยายเวลาฉายแสงเพื่อ การใช้เทคนิคต่างๆ เช่น burning เพิ่มแสงเฉพาะบางพื้นที่ เพื่อให้ภาพส่วนนั้นเข้มขึ้น หรือ dogging การลดแสงที่ฉายลงบางส่วนของภาพเพื่อให้ส่วนนั้น ขาวหรือดูสว่างขึ้น นอกจากนั้น การแช่กระดาษผ่านน้ำยาต่างๆตามระยะเวลากำหนด เพื่อให้ภาพคงทนเก็บได้นาน
|
กระบวนการผลิตภาพถ่ายขาวดำจากฟิล์ม
1 การถ่ายภาพ
3 การอัดภาพขาว-ดำ