|บทความ-เนื้อหา |
การผลิตภาพถ่ายขาวดำจากฟิล์ม 1 การถ่ายภาพ 2 การล้างฟิล์ม 3 การอัดภาพขาว-ดำ |
ขั้นตอนการล้างฟิล์ม
1 การดึงปลายฟิล์มออกจากกลัก
มีหลายวิธี
-ใช้อุปกรณ์ถึงฟิล์ม Cassette opener มีทั้งแบบเกี่ยว และ แบบลิ้น เพื่อดึงเฉพาะส่วนปลายฟิล์มออกมา
Cassette opener
- ใช้ฟิล์ม ด้วยกันสองชิ้นประกบ สอดเข้าไปและ หมุนตามเทคนิควิธี และดึงเฉพาะปลายออกมา
-ใช้วิธีกระแทกกลักฟิล์มกับพื้น ให้แกนฟิล์มหลุดออกมาจากลัก (ทำในที่มืดเพราะเนื้อฟิล์มหลุดออกมาทั้งหมด)
2 การโหลดฟิล์ม
อุปกรณ์ที่ใช้
-ถุงมืดสำหรับโหลดฟิล์ม หรือ ห้องมืดสนิท
- แทงค์(กระบอกที่ใช้ล้างฟิล์ม) และ รีล(วงล้อบรรจุฟิล์ม)
ในภาพแทงค์ขนาดต่างๆสำหรับใส่รีล
ขนาดเล็กสุดล้างได้ทีละ1ม้วน กับ แทงค์ 4 รีล ,
และ 8 รีล สำหรับล้างฟิล์มได้ครั้งละหลายม้วน
- กรรไกร ใช้สำหรับตัดปลายฟิล์ม และ ด้านในสุดที่ติดกับแกนของฟิล์ม ในตอนที่โหลดฟิล์ม
3 เลือกสูตรน้ำยา การผสมน้ำยา
น้ำยาล้างฟิล์มมีหลายสูตร แต่น้ำยาหลักๆที่ใช้ในการล้างฟิล์มคือ
1 น้ำยาสร้างภาพฟิล์ม (Deverloper) : ทำหน้าที่ปฏิกริยาสร้างภาพบนแผ่นฟิล์ม d-76 , d-25 ,ID-11
2 น้ำยาหยุดภาพ(stop bath) : ทำหน้าที่หยุดภาพบนแผ่นฟิล์ม
3 น้ำยาคงสภาพ(fixer) : ทำหน้าที่ให้ฟิล์ม คงสภาพนี้ไว้ตลอด
4 น้ำยาโฟโต้โฟล(foto flo) : ใช้ขั้นตอนหลังจากล้างฟิล์มแล้ว
การทำน้ำยา
-ผสมสารเคมีเอง ตามสูตร: ต้องมีอุปกรณ์ชั่ง-ตวงอย่างละเอียด
-น้ำยาสำเร็จรูปชนิดผง : เช่น D-76 น้ำยาสร้างภาพ 1 ซอง ขนาดซอง 415 กรัม
ผสมน้ำอุ่นสะอาดอุณหภูมิ 50 เซลเซียส ได้ 3.8 ลิตร ทำป็นน้ำยาสต็อก
มีอายุใช้งานตามกำหนดและขึ้นอยู่กับการเก็บรักษา
ให้เก็บในขวดทึบแสงปิดขวดให้สนิท มีอากาศในขวดน้อยที่สุด
เวลานำมาใช้งาน ล้างฟิล์มให้นำน้ำยาสต็อกนี้ มาผสมน้ำเปล่า 1:1 คุมน้ำยาให้มีอุณหภูมิ 20 เซลเซียส
-น้ำยาสำเร็จรูปชนิดน้ำ : สะดวกและง่ายในการนำมาใช้งานที่สุด แต่ราคาจะสูงกว่าการผสมเอง หรือ น้ำยาสำเร็จรูปชนิดผง
มีทั้งตัวน้ำยาสร้างภาพ น้ำยาหยุดภาพ น้ำยาคงสภาพ เวลาใช้งานใช้ผสมกับน้ำสะอาด
ตามอัตราส่วนที่กำหนด ก็พร้อมใช้งานได้เลย
เช่น
ของยี่ห้อ kodak , ilford
น้ำยาเคมีที่ผสมเป็นน้ำยาสต็อกแล้วเก็บในขวดทึบแสง
4 การล้างฟิล์ม
-ฟิล์มที่โหลดใส่รีลแล้ว บรรจุในแทงค์
-น้ำยา สร้างภาพ หยุดภาพ คงสภาพ ผสมแล้วพร้อมใช้งาน
- นาฬิกา ใช้จับเวลา
-ปรอทวัดอุณหภูมิ( เทอร์โมมิเตอร์) ชนิดแข็งแรงไม่เปราะแตกง่าย
-ถ้วยตวง ใช้ผสมน้ำยา
-ตาชั่งละเอียด และ ช้อนตวง (สำหรับกรณี ชั่งผสมสูตรเคมีเอง)
- ก็อกน้ำสะอาด อ่างน้ำ
- กระบอกกรวยกรอกน้ำยาใส่ขวด
- ไม้หนีบฟิล์ม สำหรับตากฟิล์ม
-
ฟองน้ำสำหรับเช็ดฟิล์ม Photographic sponge
- ถุงมือยาง
ผ้าปิดจมูก
5 ตากฟิล์ม และ บรรจุฟิล์มใส่ซอง
- ซองเปล่าบรรจุฟิล์ม กรรไกร
|
ภาพกล้องแมลนวล ราวปี 1961
ปรับด้วยมือ ไม่ใช่ถ่าน กลไกลล้วนๆ ไม่มีอุปกรณ์วัดแสงในตัวกล้อง วัดแสงด้วยตา และ ประสบการณ์ กับ ฟิล์ม ชนิด ขาวดำ 135 ถ่ายภาพได้ม้วนละ 36 ภาพ
|
|
เตรียมอุปกรณ์บรรจุฟิล์มใส่แทงค์ 1 ห้องมืด หรือ ใช้ถุงมืดสำหรับป้องกันแสงถูกเนื้อฟิล์ม 2 อุปกรณ์ดึงฟิล์มออกจากกลัก 3 โรลใส่ฟิล์ม และ แทงค์บรรจุฟิล์ม 4 กรรไกร *ถ้าทำในห้องมืดให้จำตำแหน่งวางต่างๆให้ได้ เพราะจะมองไม่เห็นอะไรอีกนอกจาก ใช้การสัมผัสด้วยมือเท่านั้น จึงลองซ้อมมือก่อน |
|
ฟิล์มเมื่อถ่ายรูปหมดม้วน
เนื้อฟิล์มห้ามโดนแสงจะเก็บบรรจุอยู่ในกลัก
|
|
|
|
ทำตามลำดับขั้นตอน เพื่อดึงปลายฟิล์มออกมา
-สอดปลายลิ้นอุปกรณ์เข้าไปในกลักฟิล์ม -ดันเลื่อนพลาสติกชิ้นที่หนึ่งเข้าไปจนสุด -หมุนแกนฟิล์มทวนเข็มนาฬิกาฟิล์มจนจังหวะ รู้สึกฟิล์มดังคลิ๊กเบาๆที่มือ -ดันเลื่อนพลาสติกชิ้นที่สองไปจนสุด -หมุนแกนฟิล์มตามเข็มนาฬิกา จนรู้สึกตึง - ดึงเลื่อนพลาสติกทั้งสองกลับมาสุดอีกด้านหนึ่งพร้อมกัน ปลายเนื้อฟิล์มจะติดตามออกมาด้วย
|
|
ให้ปลายฟิล์มจะโผล่ออกมา เล็กน้อย
|
|
ใช้กรรไกรตัดตรงส่วนปลายฟิล์มที่เป็นส่วนโค้งออก
ให้ตัดฉากเป็นเส้นตรง เพื่อให้ปลายนำไป ใส่ใน รีลบรรจุฟิล์ม ได้ง่าย
|
|
ห้ามดึงเนื้อฟิล์มด้านภายในที่ใช้งานออกมาโดนแสง
ให้ด้านปลายฟิล์มโผล่ออกมาเล็กน้อยเท่านั้น ก่อนจะนำไปสู่ห้องมืดหรือถุงดำ เพื่อโหลดฟิล์มใส่รีล และ แทงค์บรรจุฟิล์ม ตามลำดับ
|
|
โหลดฟิล์มใส่ที่รีล หรือ วงล้อบรรจุฟิล์ม สำหรับรีลบรรจุฟิล์ม ในรุ่นนี้ เป็นแสตนเลสทนทาน ทำความสะอาดง่าย กระทัดรัด ใช้น้ำยาน้อย กว่ารุ่นที่เป็นพลาสติก แต่ต้องใช้ทักษะ น้ำหนักมือที่พอเหมาะ พอดีในการโหลดฟิล์ม ก่อนโหลดบรรจุฟิล์มลงในรีล ควรหาฟิล์มที่เสียแล้ว หรือฟิล์มใช้ซ้อมมือ มาลองโหลดบรรจุฟิล์มจนชำนาญเสียก่อน และเมื่อโหลดเสร็จ ตรวจสอบด้วยสายตา ว่าเนื้อฟิล์มไม่ยับ และไม่สัมผัสซ้อนกัน
จากนั้นก็ลองซ้อมด้วยการหลับตา การวางเครื่องมือ
|
|
สู่กระบวนการมืดสนิท
ทำการบรรจุฟิล์มใส่ในรีล ทำในห้องที่มืดสนิทหรือถุงดำสำหรับ โหลดฟิล์ม เตรียมกรรไกรสำหรับเพื่อตัดส่วนปลายด้านในสุด ที่ติดอยู่กับกลักฟิล์มด้วย และแทงค์สำหรับใส่รีลฟิล์ม เมื่อใส่ฟิล์มในรีลสุด ก็บรรจุไว้ในแทงค์ปิดฝาให้สนิท |
|
รีลใส่ฟิล์มเรียบร้อยแล้ว บรรจุในแทงค์
สามารถเอาออกมาใน ที่มีแสงสว่างได้แล้ว เตรียมเอาไป ทำในขั้นตอนล้างฟิล์มด้วยน้ำยา |
|
เลือกชนิดของสูตรน้ำยาที่จะล้างฟิล์ม เตรียมน้ำยา และอุปกรณ์ล้างฟิล์ม ให้เรียงลำดับขั้นตอน น้ำยาหลักๆ ที่ใช้งาน คือ 1 น้ำยาสร้างภาพ 2 น้ำยาฟิกเซอร์ 3 โฟโต้โฟล |
|
1 คู่มือ สมุดบันทึกการทำงาน 2 แทงค์(Tank) + รีลบรรจุฟิล์ม(reel) 3 น้ำยาสร้างภาพ สำเร็จรูป 4 น้ำยาหยุดภาพ สำเร็จรูป 5 น้ำยาfoto flo 6 ถ้วยตวง 7 ปรอทวัดอุณหภูมิ 8 กระบอกกรวยกรอกน้ำ 9 นาฬิกาจับเวลา 10 ฟองน้ำเช็ดฟิล์ม 11 ขวดเก็บน้ำยา
สำหรับสูตรผสมน้ำยาเอง
|
|
การผสมน้ำยา และ
เลือกสูตรน้ำยา มีหลายสูตร เช่น
D76 - ผสมผงสารเคมีเอง (มีเครื่องชั่งตวงอย่างละเอียด ผสมสารเคมีตามสูตรที่กำหนดจะได้ผงเคมี นำไปผสมน้ำอุ่น ทำเป็นน้ำยาสต็อกเก็บไว้ในขวดทึบแสง เวลาใช้งานผสมน้ำ) - สูตรเคมีสำเร็จรูปชนิดผง (ใช่ผสมน้ำสะอาดอุ่นตามอุณหภูมิกำหนด เก็บไว้ในขวดทึบแสง เป็นน้ำยาสต็อก เวลาใช้งานต้อง ผสมน้ำอีกครั้งหนึ่ง) - น้ำยาสำเร็จรูปชนิดน้ำ (ผสมน้ำสะอาดวัดอุณหภูมิ และใช้งานได้เลย)
|
|
เวลาใช้งานผสมกับน้ำสะอาด ตามอัตราส่วน และ วัดอุณหภูมิ ควบคุมอุณหภูมิตามกำหนด ลดอุณหภูมิด้วยการแช่น้ำยาในตู้เย็น หรือ รองถาดน้ำแข็ง โดยประมาณจะอยู่ที่ 20 องศาเซลเซียส ถ้าน้ำยาอุณหภูมิสูงเกินไป จะเกิดเกรนขึ้นที่ภาพ
|
|
คนน้ำยาให้เข้ากัน |
|
บรรจุเตรียมน้ำยาไว้ในขวด
ทำสลากติดไว้ที่ขวด เขียนชื่อน้ำยา ถ้าจะเก็บไว้ก่อนวันที่ผสมน้ำยา ปิดฝาให้สนิท เมื่อผสมแล้วน้ำยาจะมีอายุการใช้งานน้อยลง ถ้าจะผสมเก็บไว้ใช้นานๆควรเก็บไว้ในขวดทึบแสง และให้มีอากาศในขวดน้อยที่สุด |
|
ก่อนจะผสมน้ำยาตัวอื่นให้ล้างอุปกรณ์ ผสมน้ำยา
ทั้งหมดให้สะอาดก่อน หรือ แยกใช้ถ้วยผสมน้ำยาแต่ละชนิด
|
|
ผสมน้ำยาคงสภาพ (fixer) การทำน้ำยามีหลายวิธี 1 ผสมเคมีเอง : ซื้อสารเคมี แต่ละชนิดมาชั่งตวงผสมกันตามสูตร 2ผงเคมีสำเร็จรูป
: ผงเคมี ใช้ผสมน้ำ ตามอัตราส่วน 3น้ำยาเคมีสำเร็จรูปชนิดน้ำ : ใช้ผสมกับน้ำ ตามอัตราส่วนและ นำไปใช้งาน น้ำยาคงสภาพ(fixer)นี้ใช้ได้ทั้งการล้างฟิล์ม และ ในขั้นตอนการอัดภาพบนกระดาษ
|
|
เปิดฝาด้านบนของแท้งบรรจุฟิล์มออก แท้งนี้จะมีลักษณะพิเศษ มีแผ่นพลาสติกรองด้านในซ้อนไว้อีกชั้นหนึ่ง ไว้บังแสงไม่ให้โดนฟิล์มเวลาเปิดฝาออกเพื่อเปลี่ยนน้ำยา เพื่อเป็นช่องสำหรับเติมและถ่ายเปลี่ยนน้ำยาเคมี น้ำยาเคมีต่างๆ จะทำปฏิกริยาผ่านเนื้อฟิล์มที่อยู่ภายในแท้งค์
|
|
เตรียมน้ำยาเคมี ที่ผสมแล้ว
- น้ำยาสร้างภาพบนฟิล์ม d-76 วัดอุณหภูมิ น้ำยา และ คุมเวลา การเขย่า ตามตารางของสูตรที่ใช้ - น้ำยาคงสภาพ - น้ำยาโฟโต้โฟ - นาฬิกาจับเวลา - ก็อกน้ำสะอาด อ่างน้ำล้างมือ - ฟองน้ำเช็ดฟิล์มแช่น้ำให้นุ่ม |
|
เขย่าโดยใช้นิ้วชี้หรือนิ้วโป้ง จับฝาให้แน่น
คว่ำแทงค์ โยกลง ช้าๆประมาณ 1 ฟุต และวางกระป๋องลงกับพื้น ประมาณ 5 ครั้ง ต่อ 10 วินาที เพื่อน้ำยาสร้างภาพผ่านฟิล์มได้ทั่วถึงไม่เกิดฟองอากาศ เกาะบนผิว ฟิล์ม และวางลง 20 วินาที และเขย่าใหม่
|
|
เขย่าแทงค์โดยใช้เวลาตามสูตร คู่มือตามฉลาก ดูจากอุณหภูมิ และ เวลาให้ได้ตามตาราง
|
|
หลังจากเขย่าแทงค์ตามเวลาที่กำหนด เทน้ำยาสร้างภาพกลับ ใส่ขวดเดิม และทำตามขั้นตอนต่อไป โดยเตรียมน้ำยา แต่ละชนิดเรียงลำดับให้พร้อมใช้งาน |
|
ใส่น้ำยาฟิกเซอร์
ทำการเขย่าตามสูตร |
|
ชำระล้างน้ำยา ด้วยน้ำสะอาดให้รินไหลผ่าน หลังจากนั้น แช่น้ำยาโฟโต้โฟล ที่ผสมน้ำเปล่า ในอัตราส่วน 1: 50 แช่ไว้เป็นเวลา 2-3 นาที ก่อนจะเอาฟองน้ำละเอียดสำหรับเช็ดฟิล์ม รูดผ่านฟิล์มเบาๆ เพื่อไม่ให้มีคราบและฟองอากาศติดฟิล์ม |
|
รูดน้ำด้วยฟองน้ำแล้ว ตากฟิล์มให้แห้ง
ในห้องที่มีฝุ่นละอองน้อยที่สุด |
|
ฟิล์มที่แห้งสนิทแล้วนำมาตัดเพื่อใส่ไว้ในซองบรรจุฟิล์ม
|
|
ส่องไฟตรวจสอบดู เนื้อฟิล์ม ว่าภาพที่ได้
เป็นอย่างไร กำลังดี สว่างไป มืดไป เกิดจากอะไร อาจจะจดบันทึกข้อมูลไว้ ในสมุดบันทึก เพื่อปรับปรุงพัฒนางานในครั้งต่อไป |
|
ซองบรรจุฟิล์ม เรียบร้อยแล้ว เขียนงานที่ถ่าย
วันเวลา สถานที่
บนซอง นำไปเก็บไว้ เพื่อเตรียมใช้งาน ในการอัดขยายภาพต่อไป |
Photo & Present by webmaster
สรุปการล้างฟิล์ม เพื่อให้ได้ภาพบนเนื้อฟิล์มที่พอดี ไม่ใสหรือมืดทึบจนเกินไป ศัพท์ของช่างภาพยุคนั้นจะเรียกว่า ฟิล์ม หนา หรือ บาง ได้คอนทราสของเนื้อฟิล์มตามต้องการ ต้องใช้หลักการทฤษฏี ทักษะประสบการณ์ และ การลงมือปฏิบัติ มีส่วนประกอบสำคัญต่างๆ เช่น เริ่มจากการถ่ายภาพ ค่ารูรับแสง ความไวชัตเตอร์ ที่ได้ค่าถูกต้อง (ตามสภาพแสงของวัตถุที่ถ่าย การปรับค่าของผู้ถ่ายภาพ และ กล้องที่ทำงานเที่ยงตรง) หลังจากได้ฟิล์มที่ถ่ายมาดีแล้ว การโหลดฟิล์ม เลือกสูตรน้ำยาล้างฟิล์ม การผสมน้ำยาอัตราส่วน การควบคุมอุณหภูมิน้ำยาได้ตามกำหนด การเขย่าถูกวิธีน้ำยาทั่วถึงฟิล์ม ฟิล์มผ่านน้ำยาต่างๆในเวลาที่ถูกต้องพอดี นั้นมีผลต่อการล้างฟิล์มทั้งหมด
|
2 การล้างฟิล์ม