| เครื่องอัดภาพ : Enlarger |
เครื่องอัดภาพ ใช้หลักการ
ฉายแสงผ่านแผ่นฟิล์มเนกกาทีฟเพื่อให้ภาพที่ต้องการอัดขยาย
ให้ไปปรากฏลงบนแผ่นกระดาษไวแสง
ใช้ประกอบกับtimer (นาฬิกาตั้งเวลา)
เป็นเครื่องทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าของเครื่องอัดภาพที่ฉายแสงลงไปบนกระดาษ
ตามเวลาที่กำหนด
การเลือกซื้อเครื่องอัดภาพขาวดำ
เครื่องภาพรุ่นเก่าๆ ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดคอนเดนเซอร์
ระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรนัก
ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 20-50ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ จึงจะต้องมีการปรับปรุง
ทำความสะอาด
หรือดัดแปลงบ้าง อาจจะเป็นความสุขเล็กๆน้อยๆทางใจ สำหรับคนบางคนที่ได้ขัดถู
ซ่อมแซมให้ ให้มันสวยแจ่ม ฟื้นชีพขึ้นมา ใช้งานได้อีก
ถึงบางทียังไม่ได้ใช้งาน แค่ได้มองชื่นชม
ได้จับสัมผัสบ้างก็ยังดี
ส่วนประกอบ หลัก ๆ -ระบบไฟฟ้า
-เลนส์เกลี่ยแสง เลนส์หัวอัด
- โครงสร้างเครื่อง และ ระบบกลไก
ระบบไฟฟ้า สายไฟ สวิทช์ ทั่วๆไป หลอดไฟฟ้าแบบไส้ขาวขุ่นหลอดเกลียว
220 V 100w
แต่เวลาใช้งานผมเลือกใช้หลอดกำลังวัตต์ต่ำกว่านี้ เพราะหลอด100wเครื่องจะร้อนมาก
เลนส์ เลนส์เกลี่ยแสง อยู่ในเครื่อง ระหว่าง หลอดไฟกับฟิล์ม
ตัวนี้สำคัญมากเพราะ เป็นเลนส์เฉพาะ หาอะไหล่ยาก
เลนส์อัดภาพอยู่ด้านนอก
ถอดเปลี่ยนได้เป็นเมาท์เกลียว หาซื้อไม่ง่ายนัก แต่ยังพอหาซื้อได้
อาจจะต้องใจเย็นๆ ค่อยๆหา
มีหลายเกรด หลายสภาพ เวลาซื้อเลือกค่า
f ตรงกับเครื่องและฟิล์มที่ใช้
สำหรับฟิล์ม135 ใช้ f=50
เคยทดลองใช้เลนส์ติดกล้องฟิล์มแมลนวลเลนส์50มม.โดยจ้างโรงกลึง
ทำอะแดปเตอร์เมาท์ขึ้นมาระหว่าง
เกลียวเครื่องอัดกับเมาท์เลนส์
ก็ใช้งานได้ดี แก้ขัดไปได้เหมือนกัน
โครงสร้างเครื่องอัด ฐานแผ่นไม้รองถ้าเก่ามากหรือ
ชำรุดก็ถอดเปลี่ยนได้ โดยเลือกซื้อไม้มาเจาะรูให้ตรง
กับน็อตยึดระหว่างฐานกับ แกนข้อต่อของเครื่อง
ตรวจสอบปรับระดับสูงต่ำของเครื่องหัวอัด
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยซับซ้อนอะไร นอกจากบางรุ่นใช้เฟืองหรือสปริง
ปรับโฟกัสของเลนส์บางรุ่นเป็นผ้ายางกระโปรงที่ยึดหด ไม่ขาด
เพราะจะทำให้แสงรั่วออกมา
|
Durst |
เครื่องอัด durst 659
ผลิตจากประเทศอิตตาลี่ ชนิด คอนเดนเซอร์ เป็นรุ่นเก่า วัสดุดีแข็งแรง ทนทาน ตัวเครื่องหนัก ขนาดใหญ่ ทนบึกบึน ใช้งานดี ออกแบบติดสองเลนส์ได้2ตัว โดนเลื่อนสลับกันใช้งาน ระหว่างฟิล์ม 135 และ 120 ออกแบบการปรับส่วนต่างๆได้ดี เ หมาะและสะดวกในการทำงาน อัดขยายภาพ
|
|
||
|
......... film 135 year made in ... |
เครื่องอัดภาพ ชนิดคอนเดนเซอร์ ใช้อัดฟิล์ม 135 อ่านยี่ห้อไม่ออก น่าจะผลิตทางยุโรป เครื่องเก่ายุคแรกๆ รูปทรงเรียบง่าย น้ำหนักเบา เล็กกระทัดรัด เคลื่อนย้ายสะดวก กลไกไม่ซับซ้อน แต่เวลาปรับเลื่อนขึ้นลงขยายลดขนาดภาพจะช้า ไม่คล่องเท่ารุ่นหลังๆ |
|
||
|
Durst 609 film 120,135,6x9cm year 1950 - 1975 made in itary |
เครื่องอัด durst 609
เครื่องนี้เหมาะสำหรับหรับ ฟิล์ม 120 หรือ ขนาด 6x9 cm อัดฟิล์ม135ได้แต่ไม่สะดวกสำหรับขยายใหญ่มาก
|
|
||
|
omega type DII film 135,120 ,4x5'' year .. made in USA |
ตัวเครื่องใหญ่และหนัก เป็นเครื่องยุคเก่า ที่ผลิตโดยอเมริกา ใช้กับฟิล์มใหญ่ได้ ถึง ฟิล์ม4x5 นิ้ว |
|
||
|
omega c760 film 135 - 6x7cm year ... made in USA |
เป็นเครื่องอัดภาพยุคหลังๆ ของomega
รุ่นนี้ อัดได้ทั้งภาพสี และขาวดำ มีตัวปรับค่าแสงแม่สี เ ป็นชนิด Diffused Light ไม่มีเลนส์เกลี่ยแสง จะใช้วัสดุสีขาวคล้ายโฟมเกลี่ยแสงจากหลอด halogen (เป็นหลอดเฉพาะหลอดหายากและแพงกว่าหลอดไส้ ) ทำให้ส่วนหัวอัดมีน้ำหนักเบา และขนาดเล็กลง มีวงจรอิเล็คทรอนิคส์อยู่ข้างใน สำหรับปรับค่าแสง |
|
||
|
krokus 69 film 135, 120 year1977 made in Poland |
เครื่องอัดภาพผลิต ประเทศโปแลนด์ มีสายการผลิตที่ยาวนานตั้งแต่ 1920 เครื่องนี้เป็นยุคหลังๆ รูปทรงสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่ |
|
||
|
krokus color 35 sl film 135 year1991 made in Poland |
รุ่นนี้ เป็นรุ่นเล็ก ยุคหลังๆ ของkrokus
เครื่องเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา |
|
||
|
fujimoto lucky 60M film 135 ,120 , 6x6 year 19xx made in japan |
เป็นเครื่องรุ่นเล็กน้ำหนักเบา
เคลื่อนย้ายสะดวก ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น |
|
webmaster@classic.in.th
WWW.CLASSIC.IN.TH